หน้าเว็บ

Where to Go

อำเภอพระนครศรีอยุธยา
- ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตรอยุธยา แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนอาคารหลัก ตั้งอยู่ที่ถนนโรจนะ ใกล้กับสถาบันราชภัฎพระนครศรีอยุธยา เป็นอาคาร 2 ชั้น มีห้องจัดแสดงพิพิธภัณฑ์อยู่ชั้นบน และอีกส่วน คือ ส่วนอาคารผนวด ตั้งอยู่ที่ตำบลเกาะเรียน ในบริเวณหมู่บ้านญี่ปุ่น ศูนย์แห่งนี้เปิดทำการทุกวัน วันจันทร์ - ศุกร์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์

- พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา ตั้งอยู่ที่ตำบลประตูชัย ถนนโรจนะ ตรงข้างกับสถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา เป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งแรกในประเทศไทย ที่มีรูปแบบการจัดแสดงแบบใหม่ คึือ นำโบราณวัตถุมาจัดแสดงจำนวนไม่มากจนเกินไป และใช้แสงสีมาทำให้การนำเสนอดูน่าสนใจ สิ่งสำคัญที่น่าชมภายในพิพิธภัณฑ์ มีมากมาย อาทิ เศียรพระพุทธรูปสมัยอู่ทอง ทำด้วยสัมฤทธิ์ มีขนาดใหญ่มาก ได้มาจากวัดธรรมมิกราช แสดงให้เห็นถึงความเก่าแก่ของวัด และฝีมือการหล่อวัตถุจนาดใหญ่ในสมัยโบราณ

- ปางช้างอยุธยา แล เพนียด อยู่ตรงข้ามกับคุ้มขุนแผน มีบริการขี่ช้างทุกวัน เวลา 09.00 - 17.00 น. 

- คุ้มขุนแผน  ตั้งอยู่ที่ถนนป่าโทน เป็นตัวอย่างของหมู่เรือนไทยภาคกลาง ในรูปแบบเรือนคหบดีไทย สมัยโบราณ ซึ่งเชื่อกันว่า ขุนแผนเคยต้องโทษอยู่ในคุกแห่งนี้

- วิหารพระมงคลบพิตร ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของวัดพระศรีสรรเพชญ์ ใช้เส้นทางเดียวกับทางไปคุ้มขุนแผน วิหารพระมงคลบพิตร จะอยู่ถัดไปไม่ไกลนัก พระมงคลบพิตรเป็นพระพุทธรูปบุสัมฤทธิ์ปางมารวิชัย มีขนาดหน้าตักกว้าง 9.55 เมตร และสูง 12.45 เมตร นับเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่องค์หนึ่งในประเทศไทย


- วัดพระศรีสรรเพชญ์ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของวิหารพระมงคลบพิตร เป็นวัดสำคัญที่สร้างอยู่ในพระราชวังหลวงเทียบได้กับวัดพระศรีรัตนศาสดารามแห่งกรุงเทพมหานคร หรือ วัดมหาธาตุ แห่งกรุงสุโขทัย ในสมัยจอมพลป.พิบูลย์สงคราม ได้มีการบูรณะเจดีย์แห่งนี้ จนมีสภาพที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน วัดนี้เปิดให้เข้าชมทุกวัน 


- พระราชวังหลวง หรือ พระราชวังโบราณ ตั้งอยู่ติดกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ ทางด้านทิศเหนือปราสาทในครั้งแรกนี้สร้างด้วยไ้อยู่ในบริเวณวัดพระศรีสรรเพชญ์ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 1991 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงถวายที่บริเวณปราสาทให้เป็นวัดพระศรีสรรเพชญ์วัดในเขตพระราชวัง แล้วทรงสร้างปราสาทใหม่เลื่อนไปทางเหนือ ชิดกับแม่น้ำลพบุรี พระที่นั่งต่าง ๆ ที่ปรากฎให้เห็นซากหลงเหลือในปัจจุบันเป็นอาคารที่สร้างในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ทุกรัชกาล เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 06.00 - 18.00 น. บริเวณพระราชวังหลวงมีพระที่นั่งสำคัญ ดังนี้


** พระที่นั่งวิหารสมเด็จ ตั้งอยู่ทางตอนใต้สุด เป็นปราสาทยอดปรางค์มีมุขหน้าหลังยาว แต่มุขข้างสั้น มีกำแพงแก้วล้อม 2 ด้าน



** พระที่นั่งสรรเพชญ์ปราสาท เป็นปราสาทยอดปรางค์ตั้งอยู่ตรงกลางสร้างแบบเดียวกันกับพระที่นั่งวิหารสมเด็จ มีหลังคาซ้อนลดหลั่นกันถึงห้าชั้น มีมุขเด็จยื่นออกมาเป็นที่สำหรับพระมหากษัตริย์เสด็จออกรับแขกเมือง มีโรงช้างเผือกขนาบอยู่ทั้งสองข้าง


** พระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ เดิมชื่อพระที่นั่งสุริยามรินทร์ ต่อมา เปลี่ยนเป็นชื่อนี้เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อพระที่นั่งสรรเพชญ์ปราสาท เป็นปราสาทจตุรมุข ก่อด้วยศิลาแลง มีพื้นสูงกว่าพีะที่นั่งองค์อื่น ๆ ตั้งอยู่ติดกำแพงริมแม่น้ำ ใช้เป็นที่สำหรับประทับทอดพระเนตรขบวนแห่ทางน้ำ


** พระที่นั่งตรีมุข เป็นพระที่นั่งศาลาไม้ หลังคามุงกระเบื้องดินเผา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของพระที่นั่งสรรเพชญ์ปราสาท เป็นพระที่นั่งองค์เดียวที่อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ที่สุด


** พระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์ หรือพระที่นั่งท้ายสระ เป็นปราสาทจตุรมุข ตั้งอยู่บนเกาะกลางสระน้ำ


** พระที่นั่งทรงปืน เป็นพระที่นั่งรูปยาวรี อยู่ริมสระด้านตะวันตกใกล้กับพระที่นั่งบรรยงคก์รัตนาสน์ วัดพระรามอยู่นอกเขตพระราชวังไปทางด้านทิศตะวันออก ตรงข้ามกับวิหารพระมงคลบพิตร ปัจจุบัน คือ "สวนสาธารณะบึงพระราม" ซึ่งใช้เป็นที่สำหรับพักผ่อนหย่อนใจ เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.30 - 18.30 น. ตั้งแต่เวลาประมาณ 19.30 น. - 21.00 น. จะมีการส่องไฟชมโบราณสถาน


** วัดมหาธาตุ ตั้งอยู่เชิงสะพานป่าถ่าน ทางทิศตะวันออกของวัดพระศรีสรรเพชญ์ พระปรางค์วัดมหาธาตุถือเป็นปรางค์ที่สร้างในระยะแรกของสมัยอยุธยา ซึ่งได้รับอิทธิพลของปรางค์ขอมปนอยู่ สิ่งที่น่าสนใจในวัดอีกอย่าง คือ เศียรพระพุทธรูปหินทราย ซึ่งมีรากไม้ปกคลุม เข้าใจว่าเศียรพระพุทธรูปนี้ จะหล่นลงมาอยู่ที่โคนต้นไม้ ในสมัยเสียกรุง จนรากไม้ขึ้นปกคลุม มีความงดงามแปลกตาไปอีกแบบ


** วัดราชบูรณะ อยู่เชิงสะพานป่าถ่าน ตรงข้ามวัดมหาธาตุ เมื่อคราวเสียกรุง วัดนี้และวัดมหาธาตุถูกไฟไหม้เสียหายมาก ซากที่เหลืออยู่ แสดวว่าวิหารและส่วนต่าง ๆ ของวัดนี้ใหญ่โตมาก ปัจจะบันยังปรากฎซากของเสาพระวิหารและฐานชุกชีพระประธานเหลืออยู่ วัดนี้เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30 - 16.30 น. ตั้งแต่เวลาประมาณ 19.30 - 21.00 จะมีการส่องไฟชมโบราณสถาน


** พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วังจันทรเกษม หรือวังหน้า ตั้งอยู่ถนนอู่ทองริมแม่น้ำป่าสักมุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะเมืองใกล้ตลาดหัวรอ เปิดให้เข้าชมทุกวัน เว้นวันจัน วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.00 น. โบราณสถาน โบราณวัตถุที่น่าสนใจ ในพระราชวังจันทรเกษม มีดังนี้ 
*** กำแพงและประตูวัง ปัจจุบัน ก่อเป็นกำแพงอิฐมีใบเสมา มีประตูด้านละ 1 ประตู รวม 4 ด้าน เป็นสิ่งที่สร้างใหม่ในรัชกาลที่ 4 กำแพงของเดิมมีอาณาเขตกว้างขวางกว่าที่เห็นในปัจจุบัน เพราะขุดพบรากฐานของพระที่นั่งนอกกำแพงวัดด้านใน และพบซากอิฐในบริเวณเรือนจำหลายแห่ง
*** พลับพลาจตุรมุข ตั้งอยู่ใกล้ประตูวังด้านทิศตะวันออก เป็นพลัลพลาเครื่องไม้ เดิมใช้เป็นท้องพระโรงสำหรับออกงานว่าราชการ และเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 เวลาเสด็จประพาส ปัจจุบันแสดงเครื่องใช้ส่วนพระองค์ที่มีอยู่เดิมภายในพระราชวังนี้
*** พระที่นั่งพิมานรัตยา เป็นตึกหมู่อยู่กลางพระราชวัง เคยเป็นที่ตั้งศาลากลางมณฑลและจังหวัดมาหลายปี ปัจจุบัน จัดแสดงประติมากรรมที่สลักจากศิลา เป็นเทวรูป และพระพุทธรูปนาคปรก ศิลปสมัยลพบุรี พระพุทธรูปสำริดสมัยอยุธยา พระพิมพ์สมัยต่าง ๆ และเครื่องไม้แกะสลักฝีมือช่างสมัยอยุธยาตอนปลาย และรัตนโกสินทร์
*** พระที่นั่งพิสัยศัลลักษณ์ หรือ หอส่องกล้อง เป็นหอสูงส่ชั้น สร้างครั้งแรกในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่หักพังลงมาเมื่อคราวเสียกรุงครั้งที่ 2 หอที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน สร้างในสมัยรัชการที่ 4 ตามรากฐานอาคารเดิม และทรงใช้เป็นที่ประทับทอดพระเนตรดวงดาว


*** วัดเสนาสนาราม อยู่ทางด้านหลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม เป็นวัดโบราณ เดิมชื่อ "วัดเสื่อ" พระอุโบสถเป็นสถาปัตยกรรมสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ 2 องค์ คือ "พรสัมพุทธมุนี" เป็นพระประธานในอุโบสถ และ "พระอินทรแปลง" ที่อัญเชิญมาจากนครเวียงจันทร์ ประดิษฐานอยู่ในพระวิหาร


*** วัดสุวรรณดารามราชวรวิหาร อยู่ในเขตพระนครด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะเมือง เหนือบริเวณป้อมเพชร สามารถใช้เส้นทางเดียวกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจันทรเกษม แต่พอถึงสามแยกให้เลี้ยวขวาแล้วตรงไปประมาณ 1 กิโลเมตร จะเห็นป้ายทางเข้าวัดอยู่ทางด้านขวามือ วัดนี้ เดิมชื่อว่า "วัดทอง" วัดแห่งนี้มีสิ่งต่าง ๆ ที่น่าชม คือ พระอุโบสถ ซึ่งยังคงรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย พระประธานในพระอุโบสถรัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯให้จำลองขยายส่วนจากพระแก้วมรกต นอกจากนั้นภายในพระวิหาร มีภาพเขียนสีในสมัยรัชกาลที่ 7 แสดงพระราชประวัติของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกระทำยุทธหัตถี นับเป็นจิตรกรรมฝาผนังที่มีฝีมือยอดเยี่ยม งดงามมาก กรมศิลปากรได้ถ่ายแบบภาพเขียนนี้ไปไว้ที่อนุสรณ์ดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี


*** วังหลัง ตั้งอยู่ริมกำแพงพระนครศรีอยุธยาด้านทิศตะวันตก ตรงข้ามกับวัดกษัตราธิราช เดิมเป็นอุทยานสำหรับรับเสด็จประพาสเป็นครั้งคราว เรียกว่า สวนหลวง และมีเพียงตำหนักที่พัก หลังจากนั้นได้กลายเป็นที่ประทับของเจ้านายในพระราชวงศ์ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของเจดีย์พระศรีสุริโยทัย


*** เจดีย์พระศรีสุริโยทัย อยู่ในเกาะเมืองด้านทิศตะวันตก เป็นโบราณสถานที่สำคัญยิ่งแห่งหนึ่งในเขตอุทยานประวัติศาสตร์ พระนครศรีอยุธยา เป็นอนุสรณ์สถานของวีรสตรีไทยพระองค์แรก และเป็นการยืนยันเกียรติแห่งสตรีไทยที่ได้รับการยกย่องจากสังคมไทยมาแต่ครั้งบรรพกาล




*** สวนศรีสุริโยทัย สามารถใช้เส้นทางเดียวกับทางไปเจดีย์พระศรีสุริโยทัย สวนมีพื้นที่ประมาณ 5 ไร่ ประกอบด้วยศาลาอเนกประสงค์ พลับพลาสมเด็จพระสุริโยทัย อนุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัยแสดงเหตุการณ์ตอนสู้รบบนหลังช้าง ในส่วนด้านหลังมีเนินเสมาหินอ่อนโยราณ อายุกว่า 400 ปี บรรจุชิ้นส่วนพระพุทธรูปที่ชำรุด อันเชิญมาจากวัดพุทไธศวรรย์ (พระตำหนักเวียงเห็กของพระเจ้าอู่ทอง) ฯลฯ สวนนี้เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00 - 17.00 น.


*** วัดโลกยสุธา อยู่ใกล้กับเจดีย์พระศรีสุริโยทัย ใช้เส้นทางถนนหลังพลับพลาตรีมุขในบริเวณพระราชวังโบราณผ่านวัดวรโพธิ์ และวัดวรเชษฐาราม เข้าไปจนถึงพระพุทธไสยาสน์ องค์ใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่กลางแจ้ง พระพุทธไสยาสน์องค์นี้ก่อด้วยอิฐถือปูน ยาวประมาณ 29 เมตร มีซากเสา 6 เหลี่ยม ตั้งอยู่ชิดกับองค์พระหลงเหลือให้เห็นอยู่หลายต้น เข้าใจว่าอาจเคยเป็นซากพระอุโบสถ


*** วัดกษัตราธิราชวรวิหาร อยู่นอกเกาะเมือง ตรงข้ามกับเจดีย์พระศรีสุริโยทัย ริมแม่น้ำเจ้าพระยา วัดนี้เดิมชื่อ "วัดกษัตรา" หรือ "วัดกษัตราราม" เป็นวัดโบราณในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีพระปรางค์ใหญ่เป็นประธานหลักของวัด และยังมีพระอุโบสถสมัยอยุธยา ซึ่งมีลายสลักไม้เป็นดาวเพดานงดงามมาก


*** วัดไชยวัฒนาราม ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกนอกเกาะเมือง เป็นวัดที่พระเจ้าปราสาททอง กษัตริย์กรุงศรีอยุธยาองค์ที่ 24 (พ.ศ. 2173-2198) โปรดให้สร้างขึ้น ได้ชื่อว่าเป็นวัดที่มีความงดงามมากแห่งหนึ่งในกรุงศรีอยุธยา เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลาา 08.30 - 16.30 น. ตั้งแต่เวลาประมาณ 19.30-21.00 น. จะมีการส่องไปชมโบราณสถาน


*** วัดพุทไธสวรรย์ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำทางด้านใต้ฝั่งตรงข้ามของเกาะเมือง หากเดินทางโดยรถยนต์และใช้เส้นทางสายอยุธยา-เสนา ข้ามสะพานวัดกษัตราธาราชวรวิหาร แล้วเลี้ยวซ้าย จะผ่านวัดไชยวัฒนาราม มีป้ายบอกทางไปจนถึงทางแยกซ้ายเข้าวัดพุทไธสวรรย์ วัดนี้สร้างขึ้นบริเวณตำหนักที่ประทับเดิมของสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง เรียกว่า "ตำหนักเวียงเหล็ก หรือเวียงเล็ก" หลังจากนั้นจึงไปสร้างพระราชวังใหม่ที่ตำบลหนองโสน (บึงพระราม) จึงสถาปนาที่นี้เป็นวัดพุทไธสวรรย์ ภายในวัดมีสิ่งที่น่าสนใจ คือ ปรางค์ประธานองค์ใหญ่ ศิลปะแบบขอม


*** วัดภูเขาทอง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ห่างจากพระราชวังหลวงไปประมาณ 2 กิโลเมตร สามารถใช้เส้นทางเดียวกับทางไปจังหวัดอ่างทอง ทางหลวงหมายเลข 309 กิโลเมตรที่ 26 จะมีป้ายบอกทางแยกซ้ายไปวัดภูเขาทอง เจดีย์ภูเขาทองจึงมีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบไทยและมอญผสมกัน


*** พระที่นั่งเพนียด  ตั้งอยู่ในตำบลสวนพริก ห่างจากตัวเมืองประมาณ 4 กิโลเมตร ไปตามเส้นทางหมายเลข 347 กิโลเมตรที่ 42-43 (เส้นทางเดียวกับทางไปวัดภูเขาทอง) เพนียดแห่งนี้มีขนาดใหญ่มาก สร้างขึ้นเป็นที่สำหรับพระมหากษัติย์ประทับทอดพระเนตรการคล้องช้าง หรือจับช้างเถื่อนในเพนียด ซึ่งเป็นพระเพณีที่ทำกันมาแต่โบราณ เพื่อนำช้างมาใช้ประโยชน์ในราชการทั้งในยามปกติและยามสงคราม


*** วัดหน้าพระเมรุ ตั้งอยู่ริมคลองสระบัวด้านทิศเหนือของคูเมือง (เดิมเป็นแม่น้ำลพบุรี) ตรงข้ามกับพระราชวังหลวง สร้างในสมัยกรุงศรีอยุํธยาตอนต้น มีชื่อเดิมว่า "วัดพระเมรุราชิการาม" วัดนี้มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิเมื่อครั้งทำศึกกับพระเจ้าบุเรงนองได้มีการทำสัญญาสงบศึกเมื่อ พ.ศ. 2106 ได้สร้างพลับพลาที่ประทับขึ้นระหว่างวัดหน้าพระเมรุกับวัดหัสดาวาส วัดนี้เป็นวัดเดียวในกรุงศรีอยุธยาที่ไม่ถูกพม่าทำลาย และยังคงปรากฎสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาอยู่ในสภาพสมบูรณ์มากที่สุดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา


*** วัดสมณโกฎฐาราม สันนิษฐานว่า สร้างในสมัยอยุธยาตอนต้น และปฎิสังขรณ์ขึ้นใหม่ในสมัยอยุธยาตอนปลาย วัดนี้มีพระปรางค์องค์ใหญ่รูปทรงสัณฐานแปลกตากว่าแห่งอื่น เข้าใจว่า เลียนแบบเจดีย์เจ็ดยอดของเชียงใหม่


*** วัดใหญ่ชัยมงคล เดิมชื่อวัดป่าแก้ว หรือวัดเจ้าพระยาไทย ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำป่าสักจากกรุงเทพฯ เข้าตัวเมืองอยุธยาแล้วจะเห็นเจดีย์วัดสามปลื้ม (เจดีย์กลางถนน) ให้เลี้ยวซ้ายตรงไปประมาณ 1 กิโลเมตร สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสร้างพระเจดีย์ใหญ่ขึ้นที่วัดนี้เป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะในการทำศึกยุธหัตถี ปัจจุบันมีการสร้างพระตำหนักสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีผู้นิยมไปนมัสการอย่างสม่ำเสมอเป็นจำนวนมาก


*** วัดพนัญเชิงวรวิหาร ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลคลองสวนพลู ริมแม่น้ำป่าสักทางทิศใต้ฝั่งตรงข้ามของเกาะเมือง ห่างจากตัวเมืองราว 5 กิโลเมตร หรือ เมื่อออกจากวัดใหญ่ชัยมงคลให้เลี้ยวซ้ายตรงไปตามถนนประมาณ 1 กิโลเมตร วัดพัญเชิงเป็นพระอารามหลวงชั้นโทชนิดวรวิหาร แบบมหานิกาย เป็นวัดที่มีมาก่อนการสร้างกรุงศรีอยุธยา มีพระวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ เดิมชื่อ "พระพุทธเจ้าพนัญเชิง" (พระเจ้าพแนงเชิง) แต่ในรัชกาลที่ 4 พระราชทานนามใหม่ว่า "พระพุทธไตรรัตนนายก" ชาวบ้านนิยมเรียกหลวงพ่อโต ชาวจีน นิยมเรียกว่า ชำปอกง อาจนับได้ว่า เป็นพระพุทธรูปนั่งสมัยอยุธยาตอนต้นที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดที่เหลืออยู่ในปัจจุบัน ภายในวัดพนัญเชิงยังจะพบตึกเจ้าแม่สร้อยดอกหมาก ตั้งอยู่ริมแม่น้ำป่าสัก ก่อสร้างเป็นตึกแบบจีน เป็นที่ประดิษฐานรูปปั้นเจ้าแม่สร้อยดอกหมาก ชาวจีนเรียกว่า "จู้แซเนี้ย" เป็นที่เคารพนับถือของชาวจีนทั่วไป


อำเภอบางไทร
- ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร ในพระบาทสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จัดตั้งขึ้นในเขตที่ดินปฎิรูปเพื่อการเกษตรกรรม ตำบลช้างใหญ่ มีเนื้อที่ประมาณ 1,000 ไร่ ศูนย์ศิลปาชีพนี้ มุ่งฝึกอาชีพเกี่ยวกับงานศิลปหัตถกรรมต่าง ๆ ให้แก่เกษตรกร อันได้แก่ การประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์จากเส้นใยพืช การแกะสลัก การจักสาน การทำตุ๊กตา การทำดอกไม้ประัดิษฐ์ การทำเครื่องเรือน การทอผ้า ผลิตภัณฑ์จากผ้า การย้อมสี ช่างเชื่อม และเครื่องเคลือบดินเผา ผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะส่งไปจำหน่ายที่ร้านจิตรลดา แต่ละสาขาทั่วประเทศ ศูนย์ศิลปาชีพบางไทรเปิดให้เข้าชมวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.30 - 17.00 น. วันเสาร์ อาิทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 08.30 - 18.00 น. สอบถามรายละเอียดได้ที่ประชาสัมพันธ์ศูนศิลปาชีพบางไทร


- หมู่บ้านศิลปาชีพ ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร สร้างด้วยไม้สัก และไม้แดง ประกอบด้วยเรือนไทยทั้งหมด 21 หลัง เป็นหมู่เรือนไทยสี่ภาค


- สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำวังปลา เป็นสถานแสดงปลาน้ำจืดชนิดต่าง ๆ ที่เป็นปลาพื้นเมืองของไทย รวมทั้งพันธุ์ปลาที่หายาก และใกล้สูญพันธุ์บางชนิด


- สวนนกบางไทร จัดสร้างเป็นกรงนกขนาดใหญ่ที่จำลองสภาพธรรมชาติเข้าไว้ให้มีความรู้สึกใกล้เคียงกับสภาพธรรมชาติที่สุด พร้อมกับนกนานาพันธุ์กว่า 300 ตัว




อำเภอบางปะอิน
- พระราชวังบางปะอิน อยู่ห่างจากเกาะเมืองมาทางทิศใต้ประมาณ 18 กิโลเมตร พระราชวังบางปะอินได้รับการบูรณะฟื้นฟูอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างพระที่นั่งองค์หนึ่งสำหรับเป็นที่ประทับ มีเรือนแถวสำหรับฝ่ายใน และมีพลับพลาริมน้ำ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ขึ้น ดังที่ปรากฎให้เห็นในปัจจุบันนี้ ซึ่งยังคงใช้เป็นที่ประทับ และต้อนรับพระราชอาคันตุกะและพระราชทานเลี้ยงรับรองในโอกาสต่าง ๆ เป็นครั้งคราว พระราชวังบางปะอินแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ เขตพระราชฐานชั้นนอก และเชตพระราชฐานชั้นใน เชตพระราชฐานชั้นนอกใช้เป็นที่สำหรับการออกมหาสมาคม และพระราชพิธีต่าง ๆ ส่วนเขตพระราชฐานชั้นในใช้เป็นที่ประทับส่วนพระองค์


สิ่งที่น่าสนใจในเขตพระราชวัง
ชั้นนอกของพระราชวังบางปะอินมีดังนี้
- หอเหมมณเฑียรเทวราช เป็นปรางค์ศิลาจำลองแบบจากปรางค์ขอมภายในเป็นที่ประดิษฐานพระรูปฉลองพระองค์ สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง


- พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ เป็นพระที่นั่งปราสาทโถงทรงจตุรมุข อยู่กลางสระน้ำรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบไทย  เดิมพระที่นั่งสร้างด้วยไม้ทั้งองค์ ต่อมารัชกาลที่ 6 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนเสาและพื้นเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กทั้งหมด


- พระที่นั่งวโรภาษพิมาน อยู่ทางตอนเหนือของ "สะพานเสด็จ" ใช้เป็นท้องพระโรงสำหรับเสด็จออกขุนทางในงานพระราชพิธี และเคยเป็นที่รับรองแขกเมืองหลายครั้ง สิ่งที่น่าชมภายในพระที่นั่งวโรภาษพิมาน ได้แก่ อาุวุธโบราษ ตุ๊กตาหินสลักด้วยฝีมือประณีต และภาพเขียนสนน้ำมันเป็นเรื่องราว ภาพชุดพระราชพงศาวดาร


- สภาคารราชประยูร เป็นตึกสองชั้นริมน้ำตรงข้ามพระที่นั่งวโรภาษพิมาน สำหรับใช้เป็นที่ประทับของเจ้านายฝ่ายหน้า และข้าราชบริพาร


- พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียร อยู่ทางทิศตะวันออก ตรงข้ามกับสระน้ำ เป็นพระที่นั่งเรือนไม้ สองชั้น ตามแบบชาเลต์ของสวิสซ์ แต่เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งที่พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียรได้เกิดเพลิงไหม้ขณะที่มีการซ่อมแซมเืมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2481 ทำให้พระที่นั่งเสียหายไปกับกองเพลิงหมดสิ้นทั้งองค์ คงเหลือแต่หอน้ำ ปัจจุบันได้สร้างขึ้นใหม่ตามแบบเดิมทุกประการ แต่เปลี่ยนวัสดุจากไม้เป็นอาคารคอนกรีตแทน


- พระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ พระที่นั่งองค์นี้มีนามเป็นภาษาจีนว่า "เทียนเม่งเต้ย" เป็นพระทที่นั่งสำหรับประทับในฤดูหนาว ที่นั่งนี้เคยใช้เป็นที่รับรองเจ้านายต่างประเทศในสมัยรัชกาลที่ 5 มีลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมแบบจีน มีลวดลายแกะสลักงดงามวิจิตรยิ่ง โถงด้านหน้าปูด้วยกระเบื้องแบบกังไน เขียนด้วยมือทุกชิ้น


- เก๋งบุปผาประพาส เป็นตำหนักเก๋งเล็กอยู่กลางสวนริมสระน้ำในเขตพระราชวังชั้นใน สร้างสนสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อปี พ.ศ. 2424


- หอวิฑูรทัศนา เป็นพระที่นั่งหอสูงยอดมน ตั้งอยู่กลางเกาะน้อย ในสวนเขตพระราชวังชั้นใน ระหว่างพระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียร กับพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ เป็นพระที่นั่ง 3 ชั้น มีบันไดเวียน เห็นหอส่องกล้องชมภูมิประเทศบ้านเมืองโดยรอบ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อปี พ.ศ. 2424


- อนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ หรือเรียกเป็นสามัญว่า อนุสาวรีย์พระนางเรือล่ม ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของพระราชวัง ก่อสร้างด้วยหินอ่อน ก่อเป็นแท่ง 6 เหลี่ยม สูง 3 เมตร บรรจุพระสริรังคารของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระมเหสีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมทั้งจารึกคำไว้อาลัยที่ทรงพระราชนิพนธ์ด้วยพระองค์เองไว้ทั้งภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ


- วัดนิเวศธรรมประวัติ ตั้งอยู่ บนเกาะกลางแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตรงข้ามกับพระราชวังบางปะอิน หลังจากเยี่ยมชมพระราชวังบางปะอิน นักท่องเที่ยวสามารถนั่งกระเช้าข้ามแม่น้ำเยี่ยมชมวัดนี้ได้ วัดนี้มีลักษณะพิเศษ คือ มีการตกแต่งเป็นแบบตะวันตก พระอุโบสถคล้ายกับโบสถ์ฝรั่งในศาสนาคริสต์ มีหลังคายอดแหลม และช่องหน้าต่างเจาะโค้งแบบโกธิค ผนังอุโบสถเหนือหน้าต่างด้านหน้าพระประธานประดับกระจกสี เป็นพระบรมฉายาลักษณะของรัชกาลที่ 5 ฐารชุกชีที่ประดิษฐานพระประธาน "พระพุทธนฤมลธรรมโมภาส" ทำเหมือนที่ตั้งไม้กางเขนในโบสถ์คริสต์ศาสนา ด้านขวามือของพระอุโบสถนั้นมีหอประดิษฐานพระตันธารราฐ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปยืนปางขอฝน ตรงข้ามกับหอพระตันธารราฐเป็นหอประดิษฐานพระพุทธรูปศิลา เก่าแก่ปางนาคปรก อันเป็นพระพุทธรูปสมัยลพบุรี ฝีมือช่างขอมอายุเก่าแก่นับพันปี 


อำเภอนครหลวง
- ปราสาทนครหลวง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำป่าสักฝั่งทิศตะวันออก ในเขตตำบลนครหลวง สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม แต่มาสร้างเป็นที่ประทับก่ออิฐถือปูนในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พระองค์ปรดให้ช่างถ่ายแบบมาจากปราสาทศิลาที่เรียกว่า "พระนครหลวง" ในประเทศกัมพูชา แต่สร้างไม่เสร็จสมบูรณ์ด้วยประการใดไม่ปรากฎ องค์ปราสาทสีเหลืองงดงาม ต่อมาจึงมีผู้สร้างมณฑป และพระบาทสี่รอยขึ้นบนปราสาทนี้ ส่วนตำหนักที่สร้างอยู่ข้างปราสาทนี้ ได้ปรักหักพังไปหมดแล้ว







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น